วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8



วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(science experiences Management for Early childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ. จินตนา  สุขสำราญ
วัน-เดือน-ปี 06-10-2558
เรียนครั้งที่  8  เวลาเรียน 13.30.- 17.30 น.


ความรู้   ( Knowledge )


นำเสนอวิจัย เลขที่  4  เรื่องการจดการศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
วิจัยโดย  คุณ ชยา   พยุวงค์

นำเสนอของเล่น  วิทยาศาสตร์

เรื่อง     พลังงานลม 

ของเล่น  ว่าวปักเป้า





วัสดุอุปกรณ์

     1. ไม้ไผ่         
     2. กระดาษแก้ว
     3. เชือก
     4. กาว

ขั้นตอนการทำ

 -     นำไม้ไผ่มาเหล่าให้ได้สองไม้
 -     เหล่าปลายไม้ทั้งสองข้างบางพอดัดได้ 1 ไม้
 -  นำไม้ที่เหล่าปลายทั้งสองข้างว่างทับไม้เป็นรูปกากบาทแล้วใช้เชือกมัดให้แน่น
 -ใช้เชือกมัดปลายบนของว่าวกับไม้กลางทั้งซ้ายและขาวให้ป็นรูปสามเหลี่ยม
 - ใช้เชือกมัดปลายไม้แล้วดัดไม้ให้ง้อพอประมานแล้วมัดกับปลายไม้ข้างล่างทำทั้งสองข้างเหมือนกัน
 -นำโค้รงว่าวที่ได้ว่างบนกระดาษแก้วที่เตรียมไว้  โดยตัดกระดาษตามโค้รงของว่าวโดยให้มีกระดาษเหลือสำหลับติดกาวประมาน  1 นิ้วพอติดกาวเสร็จก็ทำพู่สำหลับถ่วงว่าวให้สมดุล

ทฤษฏีทางวิทยาศาตร์

                 แรงที่กระทำกับตัวว่าวมี 4 แรง คือ

1.แรงขับ คือแรงที่คนดึงสายว่าวสวนทางกับแรงลม(ทำหน้าที่คล้ายกับแรงขับของเครื่องยนต์อากาศยาน)
  2. แรงต้าน คือ แรงที่มีทิศทางเดียวกันกับกระแสลม
  3. แรงยก คือ แรงที่ทำให้ว่าวลอยขึ้นไปในอากาศได้ ซึ่งจะมีแรงนี้ด้านบนของว่าว (หลังว่าว)
  4. แรงน้ำหนักถ่วง คือ แรงที่อยู่ด้านล่างของว่าว ซึ่งเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลกในขณะที่ว่าวเคลื่อนที่สวนทางลม และตัวว่าวทำมุมเงย ทำให้เกิดมุมปะทะกับพื้นที่ตัวว่าว ทำให้อากาศด้านบน (หลังว่าว) ไหลเร็วกว่าด้านล่างว่าว ความกดดันอากาศจึงลดลง ทำให้เกิดแรงยกขึ้น ในขณะเดียวกัน ลมด้านล่าง (ใต้ว่าว) เคลื่อนที่ช้ากว่า ทำให้เกิดความกดดันสูง จึงพยายามปรับตัวให้มีความดันเท่ากับด้านบน จึงดันว่าวให้ลอยขึ้นด้านบนว่าวจะขึ้นได้จะต้องมีแรงถ่วง (น้ำหนักของว่าว) น้อยกว่าแรงยก และแรงขับ(ลม) ต้องมีความเร็วมากพอที่จะชนะแรงต้าน ซึ่งมีทิศทางเดียวกับกระแสลม


การประยุกต์ใช้ ( Application)

         นำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นหลักการการจัดการเรียนการสอน โดยจัดการกิจกรรมให้สอดคล้องกับเรื่องที่จะสอนเด็กในเรื่องของวิทยาศาสตร์ของพลังงานลมและการปดิษฐ์ของเล่น


เทคนิคการสอน (Technical Education )

-ฝึกให้นำเสนองานหน้าชั้น
กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด
สอนให้ผู้เรียนนำเสนองานให้ถูกต้อง

ประเมิน (Evaluation )

ตนเอง (Self ): ตั้งใจเรียนเตรียมสื่อสำหรบการนำเสนอมาพร้อม
เพื่อน (Friend) ตั้งใจฟังสิ่งที่เพื่อนนำเสนอและเตรียมสื่อที่จำนำเสนอของตัวเองพร้อม
อาจารย์ (Teacher) :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ  ให้คำชมเชิญและคำแนะนำการปรับปรุ่งข้อเสนอแนะแกผลงานนักศึกษาที่ยังบกพร่อง






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น