วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6



วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(science experiences Management for Early childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ. จินตนา  สุขสำราญ
วัน-เดือน-ปี 22-09-2558
เรียนครั้งที่  6  เวลาเรียน 13.30.- 17.30 น.


ความรู้   ( Knowledge )

 นำเสนองานคู่     เรื่อง    ยีสต์ 


 กิจกรรมเรื่องการหมักของยีสต์โดยดูจากการเปลี่ยนแปลงขนาดของลูกโป่ง



  นำยีสต์แห้ง 5 กรัม น้ำตาลทราย 10 กรัม และน้ำ 50 มิลลิลิตร ใส่ลงในขวด นำลูกโป่งมาไล่อากาศออกแล้วครอบลูกโป่งลงบนปากขวด ใช้เทปกาวพันให้ลูกโป่งติดกับปากขวดจนแน่น เขย่าขวดแล้วตั้งทิ้งไว้ 30 นาที (สามารถเขย่าขวดทุก 5 นาที) จะสังเกตเห็นลูกโป่งพองออก  แก๊สที่ทำให้ลูกโป่งพองออกนี้ คือคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากหมักของยีสต์นั่นเอง การทดลองนี้อาจจะมีการออกแบบการทดลองเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ว่า ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการหมักของยีสต์ เช่น การเพิ่มหรือลดปริมาณของยีสต์หรือน้ำตาลที่ใช้ การเปลี่ยนขนาดและรูปร่างของขวด การเปลี่ยนชนิดของน้ำตาลที่ใช้ เป็นต้น


เรื่่อง   พลังงานลม
พลังงานลมอยู่ในสาระที่ควรรูเรื่อง ธรรมชาติรอบตัวเนื้อหาที่ได้เรียนรู้คือ

พลังงานลม เป็นพลังงานตามธรรมชาติที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดดันของบรรยากาศและแรงจากการหมุนของโลก สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเร็วลมและกำลังลม เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าลมเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่มีอยู่ในตัวเองปัจจุบันมนุษย์จึงได้ให้ความสำคัญและนำพลังงานจากลมมาใช้ประโยชน์มากขึ้น เนื่องจากพลังงานลมมีอยู่โดยทั่วไป ไม่ต้องซื้อหา เป็นพลังงานที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อม และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่รู้จักหมดสิ้น พลังงานลมก็เหมือนกับพลังงานแสงอาทิตย์คือไม่ต้องซื้อ ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำเอาพลังงานลมมาใช้ประโยชน์มากขึ้น พื้นที่ยังมีปัญหาในการวิจัยพัฒนานำเอาพลังงานลมมาใช้งานเนื่องจากปริมาณของลมไม่สม่ำเสมอตลอดปี แต่ก็ยังคงมีพื้นที่บางพื้นที่สามารถนำเอาพลังงานลมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลเป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยในการเปลี่ยนจากพลังงานลมออกมาเป็นพลังงานในรูปอื่น ๆ เช่น ใชั กังหันลม (windturbineเพื่อเปลี่ยนให้เป็น พลังงานไฟฟ้ากังหันโรงสี (หรือ windmillเพื่อเปลี่ยนให้เป็น พลังงานกล คือเมื่อต่อเข้ากับระหัดวิดน้ำเพื่อระบายน้ำหรือต่อเข้ากับจักรกลก็สามารถใช้สีข้าวหรือนวดแป้งได้กังหันสูบน้ำ (หรือ windpumpsails หรือใบเรือ เพื่อขับเคลื่อนเรือ เป็นต้น




การประยุกต์ใช้ ( Application)

         นำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นหลักการการจัดการเรียนการสอน โดยจัดการกิจกรรมให้สอดคล้องกับเรื่องที่จะสอนเด็กในเรื่องของวิทยาศาสตร์


เทคนิคการสอน (Technical Education )
-ฝึกให้เด็กกล้าแสดงออกกล้านำเสนองานหน้าห้องเรียน
กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด
สอนให้ผู้เรียนนำเสนองานให้ถูกต้อง

ประเมิน (Evaluation )

ตนเอง (Self ): ตั้งใจเรียนเตรียมเนื้อหาที่จะนำเสนอมาพร้อม
เพื่อน (Friend) :   ช่วยกันตอบคำถามและตั้งใจฟังสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ
อาจารย์ (Teacher) :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ  ใช้คำถามในการกระตุ้นผู้เรียน 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น