วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่








วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(science experiences Management for Early childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ. จินตนา  สุขสำราญ
วัน-เดือน-ปี 19-08-2558
เรียนครั้งที่  2  เวลาเรียน 13.30.- 17.30 น.




**ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ให้เข้ารวมงานศึกษาวิชาการ **










    ภาคเช้าเข้ารวมอบรม

 เรื่อง ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21  (Partnership for 21st Century Skills)

 โดย  ดร. อภิภู  สิทธิภูมิมงคล   












  ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง

         ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21
         หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21      ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R  และ 4Cซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน)การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ
 4 C (Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่ 





ทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21


  ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21  ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่าง

ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C
    3R คือ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้)และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น)
    7C ได้แก่
        Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
        Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
        Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
        Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
        Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
        Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
        Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)











ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึงครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในศตวรรษที่21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ความสามารถและทักษะจำเป็นซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ 

              ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้สาระวิชาก็มีความสำคัญแต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์โดยครูช่วยแนะนำและช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคน
สามารถประเมิน
ความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้ 

                    สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย
            1.  ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
            2.  ศิลปะ
            3.  คณิตศาสตร์
            4.  การปกครองและหน้าที่พลเมือง
            5.  เศรษฐศาสตร์
            6.  วิทยาศาสตร์
            7.  ภูมิศาสตร์
            8.  ประวัติศาสตร์
                   โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ
(Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้

                    ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

          ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)
          ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics,
          Business and Entrepreneurial Literacy)
          ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
          ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
          ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)

                     ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
                              ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
                              การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
                              การสื่อสารและการร่วมมือ

                    ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมายผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลายโดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
               ความรู้ด้านสารสนเทศ
               ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
               ความรู้ด้านเทคโนโลยี
     ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ
ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จนักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้

                ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
                การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
                ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
                การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
                ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility) 




กิจกรรมภาคบ่ายเข้าชมนิทรรศการในงานศึกษาวิชาการ





















































































ทักษะ (Skill)

- การฟัง
- การคิดวิเคราะห์


การประยุกต์ใช้ (Application)
     
       นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสม
การประเมิน (Evaluation )

ตนเอง :  ฟังอย่างตั้งใจ แต่ก็รู้สึกง่วงในบ้างจังหวะ แต่ก็พยายามไม่หลับตอนบ่ายก็เข้ารวมกิจกรรมที่จัดในงานอย่างสนุกสนาน









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น