บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(science experiences Management for
Early childhood)
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา
สุขสำราญ
วัน-เดือน-ปี 19-08-2558
เรียนครั้งที่ 5 เวลาเรียน 13.30.- 17.30 น.
ความรู้ ( Knowledge )
การทำงานของสมอง
สมองคือระบบประสาททำหน้าที่ควบคุมและ
สั่งการเคลื่อนไหว แสดงพฤติกรรม การรับรู้ อารมณ์
ความรู้สึกและรักษาสมดุลย์ในร่างกาย
มีหน้าที่ดูแลปกป้องเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณ ไฟฟ้า
การทำงานของสมองมนุษย์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
สมองส่วนหน้าทำหน้าที่เก็บข้อมูล ควบคุมการทำงานของร่างกาย กล้ามเนื้อ
การรับสัมผัส ความจำ เชาวน์ปัญญา และการได้ยิน สมองส่วนกลาง
ถูกสั่งการออกมาจากสมองส่วนหน้า ควบคุมการเคลื่อนไหวและการทำงานของประสาทตา
และสมองส่วนท้าย ควบคุมการทำงานการเคลื่อนไหวของร่างกาย การทรงตัว และควบคุมการหายใจ
การหมุนเวียนของเลือด
สมองแบ่งออกเป็น 2 ซีก คือ
- สมองซีกซ้าย
- สมองซีกขวา
สมองซีกขวาทำหน้าที่ได้ดีในด้านต่อไปนี้
- การเข้าใจภาษาง่ายๆ ที่ไม่ซับซ้อน
- ความคิดสร้างสรรค์
- การมีอารมณ์ขัน
- การรับรู้เกี่ยวกับการสัมผัส
- ความคิดเชิงนามธรรม
- การใช้ภาษาท่าทางหรือภาษากาย
สมองซีกซ้ายทำหน้าที่ได้ดีในด้านต่อไปนี้
- การแสดงออกทางด้านการพูด
- การรับรู้ด้านภาษา
- การใช้กล้ามเนื้อแขนขาและมือ
- ความระมัดระวัง
- การเรียนรู้โดยการจัดหมวดหมู่
- การสร้างแนวคิดใหม่ๆ หรือความรู้ที่เกี่ยวกับแนวความคิด
- การวิเคราะห์เกี่ยวกับเวลา
- การเรียนคณิตศาสตร์คำนวณ
หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาการเด็ก
1. กีเซล (Gesell)
หลักการ :
- พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอนเด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ
- การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวการใช้ภาษาการปรับตัวเข้ากับสังคมและบุคคลรอบข้าง
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก :
- โครงสร้างของหลักสูตรยุทธนาการเด็ก
คุณลักษณะที่พึงประสงค์และประสบการณ์สำคัญ
- ไม่ควรเร่งสอนสิ่งที่ยากเกินพัฒนาการตามวัยของเด็ก
- จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสเคลื่อนไหวกิจกรรมเดี่ยว
และกิจกรรมกลุ่ม
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟังได้พูด
ท่องคำคล้องจองร้องเพลงฟังนิทาน
2. ฟรอยด์ (Freud)
หลักการ :
- ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอจะเกิดอาการชะงักพฤติกรรมถดถอยคับข้องใจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก
แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก - ครูเป็นแบบอย่างที่ดีทางการแสดงออก ท่าที วาจา
- จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอนจากง่ายไปยากจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ
3. อิริคสัน ( Erikson )
หลักการ :
- ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ
ประสบผลสำเร็จเด็กจะมองโลกในแง่ดีมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น
- ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีไม่พอใจจะมองโลกในแง่ร้ายขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่วางไว้วางใจผู้อื่น
แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก :
- จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสประสบผลสำเร็จโดยจัดกิจกรรมที่เหมาะกับวัยไม่ยากและมีให้เลือกตามความสามารถหรือความสนใจ
- จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อมครูและเพื่อนเพื่อน
เช่น จัดบรรยากาศให้อบอุ่นมีความสบายใจและเด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกัน
4. เพียเจต์ ( Piaget)
หลักการ :
- พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบรอบตัวเด็กมีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ๆที่เกิดขึ้นตลอดเวลาและมีการปรับขยายประสบการณ์เดิมความคิดและความหมายมากขึ้น
- พัฒนาการของเด็กปฐมวัย 0-6 ปี
1) ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหววัย 0 ถึง 2 ปี
เด็กเรียนรู้ทุกอย่างทางประสาทสัมผัสทุกด้าน 2) ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการวัย 2 เดือน 6 ปี เริ่มเรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสาร
ตนเองเป็นศูนย์กลางคิดหาเหตุผลไม่ได้จัดหมวดหมู่ได้ตามเกณฑ์ของต้น
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก :
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กิจกรรมสำรวจทดลองกิจกรรมประกอบอาหารทัศนศึกษา
- จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะสังเกตจำแนกเปรียบเทียบ
เช่น การเล่นเกมการศึกษาการเรียนรู้จากสื่อของจริงการสำรวจทดลอง
- จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัวเรียนรู้จักหน่วยตามความสนใจและเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมก่อน
5. ดิวอี้ ( Dewey)
หลักการ :
- เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ
- การพัฒนาสติปัญญาของเด็กจะต้องฝึกให้เด็กคิดแบบวิทยาศาสตร์และมีระบบ
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก :
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ
พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู
- จัดบรรยากาศในห้องเรียน
ให้เด็กมีโอกาสในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครู
และเพื่อนๆ
ุ6. สกินเนอร์ (Skinner)
หลักการ :
- ถ้าเด็กได้รับคำชมเชยและประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมเด็กจะสนใจที่จะทำต่อไป
- เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างไม่มีใครเหมือนใคร
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก :
- ให้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม
เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ
- ไม่นำเด็กมาเปรียบเทียบแข่งขันกัน
7. เปสตาลอสซี่ ( Pestalozzi)
หลักการ :
- ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก
ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา
- เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
ทั้งด้านความสนใจ ความต้องการ และระดับความสามารถในการเรียน
- เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก :
- จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรัก
ให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์
8. เฟรอเบล ( Froeble)
หลักการ :
- ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก :
- จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี
9.เอลคายน์ ( Elkind )
หลักการ :
- การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตรายต่อเด็ก
- เด็กควรมีโอกาสเล่นและเลือกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก :
- จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
ความหมายของวิทยาศาสตร์
หมายถึง
การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยวิธีการ
ทักษะกระบวนการ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบแบบเเผน
มีขอบเขตโดยอาศัยการสังเกต
การทดลองเพื่อค้นหาความเป็นจริงและทำให้ได้มาวึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
1. การเปลี่ยนแปลง
2. ความแตกต่าง
3. การปรับตัว
4. การพึ่งพาอาศัยกัน
5. ความสมดุล
การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
1. ขั้นกำหนดปัญหา
2. ขั้นตั้งค่าสมมติฐาน
3. ขั้นรวบรวมข้อมูล
4. ขั้นลงข้อสรุป
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1. ความอยากรู้อยากเห็น
2. ความเพียรพยายาม
3. ความมีเหตุผล
4. ความซื่อสัตย์
5. ความมีระเบียบและรอบคอบ
6. ความใจกว้าง
การเรียนรู้อย่างมีความสุข
- การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
- การเรียนรู้แบบองคืรวมที่ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน
การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
- การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
- เรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
- พัฒนาทักษะการสังเกต
การเปรียบเทียบ การจำแนก การสรุปความคิดรวบยอด การแก้ปัยหา การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
- กิจกรรมโครงการ
กิจกรรมประจำวัน การเล่น กิจกรรมการทดลอง กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่
กิจวัตรประจำวัน ฯลฯ
การเรียนรู้แบบองค์รวม
- กิจกรรมที่จัดสอดคล้องกับประสบการณ์ที่ได้รับ
- ครูผู้สอนหรือผู้ดูแล
เด็กควรหลอมรวมหรือเชื่อมโยงความรู้ประสบการณ์
- ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้านทั้งทางร่างกาย
อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา
- ประสบการณ์ต่างๆ
สัมพันธ์กันในลักษณะบูรณาการ
สรุป
หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ
เน้นให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุล ยึดเด็กเป็นสำคัญ
และต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน
กิจกรรมนำเสนอบทความ
เลขที่ 1 นำเสนอบทความ เรื่อง
" วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย "
เลขที่ 2 นำเสนอบทความ เรื่อง " สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ "
เลขที่ 3 นำเสนอบทความ เรื่อง " แนวทางการสอนคิด เติมวิทย์ให้เด็กอนุบาล
"
ทักษะ (Skill)
- ทักษะการตอบคำถาม
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการนำเสนองาน
- ทักษะการใช้ความคิดรวบยอด
การประยุกต์ใช้ ( Application)
นำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นหลักการการจัดการเรียนการสอน
โดยจัดให้สอดคล้องกับความต้องการและพัฒนาการของเด็ก
เทคนิคการสอน (Technical Education )
- กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด
- สอนให้ผู้เรียนนำเสนองานให้ถูกต้อง
ประเมิน (Evaluation )
ตนเอง (Self ): ตั้งใจเรียน
ง่วงนอนนิกหน่อย
เพื่อน (Friend) : ช่วยกันตอบคำถาม
เล่นบ้างเป็นบางจังหวะ
อาจารย์ (Teacher) : เข้าสอนตรงเวลา
แต่งกายสุภาพ ใช้คำถามในการกระตุ้นผู้เรียน
การทำงานของสมอง
สมองคือระบบประสาททำหน้าที่ควบคุมและ สั่งการเคลื่อนไหว แสดงพฤติกรรม การรับรู้ อารมณ์ ความรู้สึกและรักษาสมดุลย์ในร่างกาย มีหน้าที่ดูแลปกป้องเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณ ไฟฟ้า การทำงานของสมองมนุษย์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ สมองส่วนหน้าทำหน้าที่เก็บข้อมูล ควบคุมการทำงานของร่างกาย กล้ามเนื้อ การรับสัมผัส ความจำ เชาวน์ปัญญา และการได้ยิน สมองส่วนกลาง ถูกสั่งการออกมาจากสมองส่วนหน้า ควบคุมการเคลื่อนไหวและการทำงานของประสาทตา และสมองส่วนท้าย ควบคุมการทำงานการเคลื่อนไหวของร่างกาย การทรงตัว และควบคุมการหายใจ การหมุนเวียนของเลือด
สมองแบ่งออกเป็น 2 ซีก คือ
- สมองซีกซ้าย
- สมองซีกขวา
สมองซีกขวาทำหน้าที่ได้ดีในด้านต่อไปนี้
- การมีอารมณ์ขัน
- การรับรู้เกี่ยวกับการสัมผัส
- ความคิดเชิงนามธรรม
- การใช้ภาษาท่าทางหรือภาษากาย
สมองซีกซ้ายทำหน้าที่ได้ดีในด้านต่อไปนี้
- การรับรู้ด้านภาษา
- การใช้กล้ามเนื้อแขนขาและมือ
- ความระมัดระวัง
- การสร้างแนวคิดใหม่ๆ หรือความรู้ที่เกี่ยวกับแนวความคิด
หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาการเด็ก
1. กีเซล (Gesell)
หลักการ :
- พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอนเด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ
- การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวการใช้ภาษาการปรับตัวเข้ากับสังคมและบุคคลรอบข้าง
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก :
- โครงสร้างของหลักสูตรยุทธนาการเด็ก คุณลักษณะที่พึงประสงค์และประสบการณ์สำคัญ
- ไม่ควรเร่งสอนสิ่งที่ยากเกินพัฒนาการตามวัยของเด็ก
- จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสเคลื่อนไหวกิจกรรมเดี่ยว และกิจกรรมกลุ่ม
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟังได้พูด ท่องคำคล้องจองร้องเพลงฟังนิทาน
2. ฟรอยด์ (Freud)
หลักการ :
- ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอจะเกิดอาการชะงักพฤติกรรมถดถอยคับข้องใจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก
แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก - ครูเป็นแบบอย่างที่ดีทางการแสดงออก ท่าที วาจา
- จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอนจากง่ายไปยากจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ
3. อิริคสัน ( Erikson )
หลักการ :
- ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จเด็กจะมองโลกในแง่ดีมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น
- ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีไม่พอใจจะมองโลกในแง่ร้ายขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่วางไว้วางใจผู้อื่น
แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก :
- จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสประสบผลสำเร็จโดยจัดกิจกรรมที่เหมาะกับวัยไม่ยากและมีให้เลือกตามความสามารถหรือความสนใจ
- จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อมครูและเพื่อนเพื่อน เช่น จัดบรรยากาศให้อบอุ่นมีความสบายใจและเด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกัน
4. เพียเจต์ ( Piaget)
หลักการ :
- พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบรอบตัวเด็กมีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ๆที่เกิดขึ้นตลอดเวลาและมีการปรับขยายประสบการณ์เดิมความคิดและความหมายมากขึ้น
- พัฒนาการของเด็กปฐมวัย 0-6 ปี
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก :
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กิจกรรมสำรวจทดลองกิจกรรมประกอบอาหารทัศนศึกษา
- จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะสังเกตจำแนกเปรียบเทียบ เช่น การเล่นเกมการศึกษาการเรียนรู้จากสื่อของจริงการสำรวจทดลอง
- จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัวเรียนรู้จักหน่วยตามความสนใจและเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมก่อน
5. ดิวอี้ ( Dewey)
หลักการ :
- เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ
- การพัฒนาสติปัญญาของเด็กจะต้องฝึกให้เด็กคิดแบบวิทยาศาสตร์และมีระบบ
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก :
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู
- จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครู และเพื่อนๆ
ุ6. สกินเนอร์ (Skinner)
หลักการ :
- ถ้าเด็กได้รับคำชมเชยและประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมเด็กจะสนใจที่จะทำต่อไป
- เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างไม่มีใครเหมือนใคร
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก :
- ให้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ
- ไม่นำเด็กมาเปรียบเทียบแข่งขันกัน
7. เปสตาลอสซี่ ( Pestalozzi)
หลักการ :
- ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา
- เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งด้านความสนใจ ความต้องการ และระดับความสามารถในการเรียน
- เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก :
- จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรัก ให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์
8. เฟรอเบล ( Froeble)
หลักการ :
- ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก :
- จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี
9.เอลคายน์ ( Elkind )
หลักการ :
- การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตรายต่อเด็ก
- เด็กควรมีโอกาสเล่นและเลือกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก :
- จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
หมายถึง การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยวิธีการ ทักษะกระบวนการ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบแบบเเผน มีขอบเขตโดยอาศัยการสังเกต การทดลองเพื่อค้นหาความเป็นจริงและทำให้ได้มาวึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
1. การเปลี่ยนแปลง
2. ความแตกต่าง
3. การปรับตัว
4. การพึ่งพาอาศัยกัน
5. ความสมดุล
การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
2. ขั้นตั้งค่าสมมติฐาน
3. ขั้นรวบรวมข้อมูล
4. ขั้นลงข้อสรุป
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1. ความอยากรู้อยากเห็น
2. ความเพียรพยายาม
3. ความมีเหตุผล
4. ความซื่อสัตย์
5. ความมีระเบียบและรอบคอบ
6. ความใจกว้าง
- การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
- การเรียนรู้แบบองคืรวมที่ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน
กิจกรรมนำเสนอบทความ
เลขที่ 1 นำเสนอบทความ เรื่อง " วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย "
- ทักษะการตอบคำถาม
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการนำเสนองาน
- ทักษะการใช้ความคิดรวบยอด
การประยุกต์ใช้ ( Application)
นำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นหลักการการจัดการเรียนการสอน โดยจัดให้สอดคล้องกับความต้องการและพัฒนาการของเด็ก
เทคนิคการสอน (Technical Education )
- กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด
- สอนให้ผู้เรียนนำเสนองานให้ถูกต้อง
ประเมิน (Evaluation )
ตนเอง (Self ): ตั้งใจเรียน ง่วงนอนนิกหน่อย
เพื่อน (Friend) : ช่วยกันตอบคำถาม เล่นบ้างเป็นบางจังหวะ
อาจารย์ (Teacher) : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ ใช้คำถามในการกระตุ้นผู้เรียน